วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ถ้าจะเพิ่มแรมให้เครื่องคอมฯ อย่าดูที่ความจุ เพียงอย่างเดียว

เครื่องคอมหน้าห้อง

 เรื่องนี้เป็นประสบการณ์การเพิ่มแรมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือเรียกว่าเครื่องเดสก์ทอป ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับการสอนนักเรียน โดยเครื่องคอมเครื่องนี้เป็นเครื่องที่ได้รับบริจาคมาจากพ่อของผมเอง เป็นเครื่องรุ่นเก่าที่เป็นซีพียู AMD โดยแรมที่ใช้ก็เป็นแรมชนิด DDR3 ซึ่งมีความจุอยู่ที่ 4 GB คอมเครื่องนี้ใช้ต่อเข้ากับทีวีที่อยู่หน้าห้องไว้ใช้ในการสอน เพราะประจำที่ไม่ได้เคลื่อนย้ายบ่อยๆเหมือนโน๊ตบุ้คที่ใช้อยู่ 
แรกเริ่มเดิมทีเครื่องนี้ก็ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 พอระยะเวลาผ่านไปการใช้โปรแกรมบางโปรแกรมก็เริ่มไม่สนับสนุนวินโดวส์ 7 แล้ว เลยต้องทำการอัพเกรดเป็นวินโดวส์ 10 พอมาใช้วินโดวส์ 10 ปรากฎว่า HDD ทำงานที่ 100% ตลอดเวลา ซึ่งได้พยายามหาวิธีการแก้ไขแล้วด้วยการทำตามขั้นตอนต่างๆในอินเตอร์เน็ตแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จที่จะลดการใช้งาน HDD จาก 100 % ลงได้เลย 
  วิธีการที่ทำแล้วได้ผลมากสุดคือการลด Pagefile หรือ Virtual Memory ซึ่งเป็นตัวที่จำลอง HDD ให้เป็นเหมือนแรม ซึ่งเครื่องก็จะทำการอ่านเขียนข้อมูลตลอดเวลา
  พอแก้ไขปัญหา HDD 100% ได้ก็มาเจอกับปัญหา แรมไม่พอ ซึ่งปัญหานี้รู้ได้จากเวลาที่เปิดไฟล์วีดีโอหรือเปิดเวปพวก Youtube ตัวเว็บบราวเซอร์จะแจ้งว่า Not enough memory แล้วก็ดูวิดีโอไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นการดูจาก Google Chrome แล้วไม่ได้เลยเพราะว่าตัวนี้จะใช้แรมเยอะมาก ต้องใช้ MS Edge ซึ่งพอดูได้
   ดังนั้นจึงแก้ปัญหาแรมไม่พอด้วยการเพิ่มแรม โดยคิดว่าจะเพิ่มจากเดิม 4GB เป็น 8 GB โดยจะซื้อมาเพิ่มอีก 4GB  ซึ่งจากการดูโดยคร่าวๆแล้ว เห็นว่าแรมที่ใช้อยู่เป็น DDR3 PC3-12800 4GB ของ Kingston ตัวนี้เป็นเคสสีนำ้เงิน

แรมตัวเดิมสีน้ำเงิน

   ก็เลยเข้าเวปไปหาซื้อ เจอสินค้าใหม่ราคาหลักพัน เลยลองหาสินค้ามือสองจากในเวปขายของ ก็ไปเจออยู่ร้านหนึ่งราคา 700 บาท ไม่รวมส่ง ดูสินค้าแล้วเห็นสเปคคือ DDR3 PC3-12800 4GB ตัวนี้มีเคสสีแดง ก็เลยถามคนขายว่า สีแดงแตกต่างจากสีน้ำเงินยังไง คนขายบอกว่า ต่างแค่สี ตัวนี้ประกัน JIB ตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งจริงๆแล้ว แถวที่ผมอยู่ไม่มี JIB ให้ไปใช้บริการหรอก ก็ไหนๆเขากล้ารับประกันตลอดอายุการใช้งานแล้วก็คงพอได้ แต่ไม่รู้ว่าต้องมีกล่องด้วยไหม เพราะว่าที่ผมซื้อเขาไม่ได้ใส่กล่องมาให้ด้วยมีแต่แรมห่อซองกันกระแทก
   พอเอามาลองใส่ดูปรากฎว่า เออดีแฮะ ตัว BIOS มองเห็นแรมเป็น 8 GB installed และตัวโปรแกรม CPUZ ก็มองเห็นเป็น 8GB แต่ว่าวินโดวส์ 10 มองเห็นเป็น 7.2 GB แต่ก็ยอมรับได้ถือว่าการเพิ่มแรมประสบความสำเร็จ 

   ทีนี้เรื่องมันก็ไม่จบแต่เพียงเท่านี้สิครับ เอาหล่ะวันนี้ใช้ได้ ดีเลย การเพิ่มแรมประสบความสำเร็จ
   เช้าวันต่อมาเปิดเครื่องเตรียมสือการสอน ประกฎว่า วันนี้ทำไมรู้สึกเครื่องช้าๆ ไม่เหมือนกับเพิ่มแรมใหม่เหมือนเมื่อวานเลย ผมก็เลยเข้าดูแรมด้วยโปรแกรม CPUZ ปรากฎว่าเห็น 8 GB แต่รู้สึกว่าทำไมมันไม่เร็ว
   ก็เลยใช้ 3 ปุ่มมหัศจรรย์ Ctr +ALT+Delete เพื่อเข้าดู Task manager บางคนบอกว่าแค่คลิกที่ Taskbar ก็มีให้เลือกแล้ว 555
   ปรากฎว่าแรมที่วินโดวส์ 10 เห็นคือ 3.2 GB เท่าเดิมเหมือนตอนที่ยังไม่ได้เพิ่มแรมเลย
   เลยลองถอดมาดูว่ามันแตกต่างกันตรงไหน ทำไมใช้งานไม่ได้ปรากฎว่าสิ่งที่เจอคือ
    1. แรมตัวใหม่สีแดงมี ไฟเลี้ยง 1.5V
    2. แรมตัวเดิมสีน้ำเงินมี ไฟเลี้ยง 1.65 V 

แรมตัวเดิมไฟเลี้ยง 1.65 V


ก็เลยได้ความรู้ใหม่ว่า ไฟเลี้ยงของแรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ก็มีแตกต่างกันเหมือนกัน คิดว่าจะมีเฉพาะของโน๊ตบุ้คที่มี DDR3 กับ DDR3L
ดังนั้นถ้าจะเพิ่มแรม PC นอกจากสเปคเหมือนกันแล้วต้องดูไฟเลี้ยงด้วยนะครับ
ตอนนี้อาการก็ยังเป็นเหมือนเดิมคือ บางครั้งเปิดมาเจอแรม 7.2 บางครั้งเปิดมาเจอแรมเป็น 3.2 ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นที่ไฟเลี้ยงที่ไม่เท่ากัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment